ความหมายของ “จิตอาสา”
จิตอาสา หรือ จิตสาธารณะ (public consciousness หรือ Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า “สาธารณะ” คือ สิ่งที่มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล และ บำรุงรักษาร่วมกัน
จิตอาสา หรือ มีจิตสาธารณะ” ยังหมายรวมถึง จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณสมบัติ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟฟ้าที่ให้ความสว่างตามถนนหนทาง แม้แต่การประหยัดน้ำ ประปา หรือไฟฟ้า ที่เป็นของส่วนรวม โดยใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษา ให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของ จิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน
ส่วน คำว่า สาธารณะ (Public) เป็น การแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม เป็นการบริการชุมชน ทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นสิ่งของก็ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อนำสองคำมารวม หมายถึง การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อ ประเทศชาติ มี ความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
สรุป จิตอาสา หรือจิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ คือ จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัว หรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง
กิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณประโยชน์
การทำความสะอาดและจัดตู้หนังสือที่ห้องสมุดที่โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
เนื่องจากในวันที่20 มิถุนายน พ.ศ.2560 ข้าพเจ้าได้กลับไปที่โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของข้าพเจ้า และได้ไปช่วยทำความสะอาดและจัดตู้หนังสือในห้องสมุดของโรงเรียน ที่ข้าพเจ้าเลือกทำกิจกรรมนี้เพราะว่าเป็นการช่วยเหลือให้น้องๆ และคุณครูไม่ต้องมาเหนื่อยจัดตู้หนังสือ กวาดถูห้องสมุดด้วยตนเอง กิจกรรมนี้ช่วยให้ข้าพเจ้าได้สร้าสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ๆ ฝึกให้ข้าพเจ้ามีจิตอาสา มีความกตัญญูต่อโรงเรียนเก่า และทำให้ข้าพเจ้ามีเวลากลับไปเยี่ยมเยียนเพื่อนเก่าและคุณครูที่โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
สถานที่ที่ทำ: ห้องสมุดที่โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
ความรู้สึกและความประทับใจ: ข้าพเจ้ามีความรู้สึกมีความสุขที่ได้ทํากิจกรรมนี้ เนื่องจากได้เสียสละเวลาว่างที่มีเพื่อทำบํระโยชน์ให้กับโรงเรียนเก่า ซึ่งนับว่ามีพระคุณต่อตัวข้าพเจ้า และประทับใจกับเพื่อนคอยให้กำลังใจและช่วยเหลือข้าพเจ้าทํากิจกรรมนี้
รูปภาพ1
ขณะที่จัดตู้หนังสือที่ห้องสมุดที่โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
รูปภาพ2
ขณะที่เช็ดทำความสะอาดห้องสมุดที่โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)